Back

อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ในยุคดิจิทัล เริ่มต้นอย่างไรดี

การสร้างแบรนด์ (Branding) คือ การสร้างภาพลักษณ์ สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง รวมถึงแสดงตัวตนของแบรนด์ออกมาอย่างชัดเจน เพื่อสื่อสารคุณค่าของแบรนด์ออกไปสู่สายตาผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายหลักคือ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจ รับรู้ตัวตนของแบรนด์และจดจำแบรนด์เราได้ รู้ว่าแบรนด์เราคือใคร แบรนด์เราทำเกี่ยวกับอะไร โดยการที่เราจะประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ได้นั้น ต้องอาศัยการเรียนรู้ การวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดต่าง ๆ อย่างมากมาย 

ซึ่งพอโลกเราเข้าสู่ยุคดิจิทัลแล้ว ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ดังนั้นเราจำเป็นต้องผสมผสานกลยุทธ์ดั้งเดิมเข้ากับเครื่องมือการสื่อสารในยุคดิจิทัลแบบใหม่ รวมถึงใช้กลวิธีใหม่ ๆ เพื่อสื่อสารไปยังผู้บริโภคอย่างตรงจุดให้เกิดการรับรู้แบรนด์อย่างแท้จริง เราจึงขอแนะนำวิธีการสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จ ดังนี้ครับ

กำหนดพันธกิจของแบรนด์ (Brand Mission) เพื่อเริ่มสร้างแบรนด์!

ในช่วงที่เราสร้างแบรนด์ สร้างธุรกิจขึ้นมา สิ่งสำคัญที่เราต้องรู้เลยคือ เราสร้างธุรกิจมาเพื่ออะไร ? สร้างมาทำอะไร ? อยากให้แบรนด์บรรลุผลอย่างไร ? ถ้าหากเรากำหนดพันธกิจจุดมุ่งหมายของแบรนด์อย่างชัดเจน ทุกคนภายในองค์กรสามารถรับรู้เป้าหมายของแบรนด์ตรงกันได้ จะส่งผลให้แบรนด์มีทิศทางการเติบโตที่ชัดเจน แบรนด์จะอยู่ในจุดที่เราอยากให้เป็นจริง ๆ ดังนั้นการกำหนดพันธกิจแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่ทำให้แบรนด์บรรลุผลและประสบความสำเร็จได้

กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เป็นการช่วยให้สร้างแบรนด์ได้ง่ายยิ่งขึ้น

การกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ขั้นตอนนี้ส่งผลต่อการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่จะปล่อยออกไปเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นเราต้องทำความรู้จัก กลุ่มเป้าหมาย (Target) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย ว่ากลุ่มเป้าหมายมีความต้องการอะไร กลุ่มเป้าหมายมีความชอบอย่างไร หากเรารู้จักกลุ่มเป้าหมายดีมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจของเรา เพราะทำให้เราสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ได้กลุ่มเป้าหมายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์ได้อย่างแท้จริง

สามารถลองศึกษาวิธีการหากลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าอย่างแม่นยำได้ที่นี่

เริ่มสร้างแบรนด์ผ่านการวิเคราะห์คู่แข่ง

ทำการศึกษาคู่แข่งในตลาด ด้วยการสังเกตความเคลื่อนไหวของคู่แข่ง เช่น กิจกรรมทางการตลาด จุดยืนของแบรนด์ ข้อดี ข้อเสียต่าง ๆ เราต้องสังเกตแล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive advantage) ให้กับธุรกิจของเรา ถ้าหากเราออกแบบและวางกลยยุทธ์ให้แบรนด์ของเราโดดเด่นกว่า แตกต่างกว่า สื่อสารออกมาได้ดีกว่าแบรนด์อื่น ๆ จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ของเราได้อย่างชัดเจน

รับออกแบบโลโก้

สร้างแบรนด์ผ่านการทำอัตลักษณ์ (Brand identity)

เมื่อเราได้ทำการกำหนดพันธกิจ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษาคู่แข่งในตลาดทั้งหมดแล้ว จนสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน และหาข้อที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การกำหนดอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ หรือเรียกอีกชื่อว่า Corporate Identity (CI) คือ การสร้างแบรนด์ ให้สื่อสารออกมาในทิศทางที่อยากผู้บริโภคจดจำสิ่งเหล่านั้นที่เกี่ยวกับแบรนด์ได้ เพื่อสะท้อนให้เห็นคุณค่าของแบรนด์ รวมถึงสามารถสร้างโอกาสการเติบโตในอนาคตได้เป็นอย่างดี ซึ่งการสร้างอัตลักษณ์แบรนด์แบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน คือ

  • Graphic Indentity : การสร้างอัตลักษณ์ผ่านการออกแบบโลโก้ รูปภาพ ตัวหนังสือ สี ลวดลาย
  • Sensorial Identity : การสร้างอัตลักษณ์ที่สัมผัสด้วยประสาทสัมผัส เช่น รส รส กลิ่น เสียง รูปร่าง ลักษณะ พื้นผิวสัมผัส
  • Behavior Identity : การสร้างอัตลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมของผู้บริโภค (Customer Journey)
  • Functional Identity : การสร้างอัตลักษณ์ที่เน้นคุณสมบัติของแบรนด์หรือสินค้า

การกำหนด Brand Character (ตัวตนของแบรนด์)

ในปัจจุบันการสื่อสารคอนเทนต์ออกมาสู่ผู้บริโภค ส่วนใหญ่จะใช้ช่องทางออนไลน์อย่าง Social Media เป็นหลัก เนื่องจากมีต้นทุนที่ไม่แพง และเจาะกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง แต่จะทำไรอย่างไรให้ผู้บริโภคจดจำคอนเทนต์และแบรนด์ที่เป็นผู้สื่อสารคอนเทนต์ออกมาได้ เราจึงต้องอาศัยตัวช่วยอย่างการกำหนด Brand Character (ตัวตนของแบรนด์) ที่ใช้ศาสตร์ร่วมหลัก ๆ อยู่ 2 ศาสตร์ คือ Brand Personality และ Brand Archetypes ซึ่งตัวช่วยในการกำหนดบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยที่สะท้อนความเป็นตัวตนแบรนด์ออกมา เพื่อสร้างการรับรู้ และประสบการณ์ร่วมบางอย่างให้แก่ผู้บริโภค 

โดยวิธีการกำหนดตัวตนของแบรนด์ ทำได้ดังนี้

  1. เลือกคำที่คิดว่าอยากให้แบรนด์มีบุคลิกภาพและนิสัยที่สะท้อนออกมาแบบในที่เราอยากให้เป็น โดยเลือกจากในภาพนี้

อยากเป็นเจ้าของแบรนด์
ที่มา https://www.bystudio.com/discover-brand-personality/brand-personality-exercise/

  1. นำคำที่เลือกไปวางใส่ช่องเหล่านี้

สร่าง Brand
ที่มา https://www.finien.com/2015/06/how-to-define-your-brand-personality/

โดยนอกเหนือจากกำหนดตัวตนแบรนด์ 2 ข้อ ข้างต้นนั้นแล้ว เรายังมีวิธีอื่นในการกำหนดตัวตนแบรนด์ นั้นคือ Brand Archetypes ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 12 แบบด้วยกัน ดังนี้เลย

ที่มา https://www.stickertoyou.com/brand-charator-คืออะไร.html

  • ผู้นำ (Ruler) คือ บุคลิกที่ชอบควบคุม ชอบจัดการ มีความทีเด็ด ชอบอำนาจ เช่น Rolex, Benz, British Airways, AMEX
  • ผู้ห่วงใย (Caregiver) คือ บุคลิกที่ชอบดูแล ชอบห่วงใย รักคนอื่นๆ เช่น  Johnson & Johnson, Volvo, Ford
  • นักสร้างสรรค์ (Creator) คือ  บุคลิกที่ชอบคิดอะไรใหม่ๆ สร้างสรรค์ นอกกรอบ ไม่ซ้ำแบบเดิมๆ เช่น  LEGO, Adobe, Starbucks, Pixar
  • นักผจญภัย (Explorer) คือ บุคลิกที่ชอบความท้าทาย ออกไปเผชิญโลกกว้าง ไม่หยุดนิ่ง เช่น  Redbull, Jeep, Go Pro, The North Face
  • ผู้รู้ (Sage) คือ บุคลิกที่มีความฉลาด ปราดเปรื่อง มีความรู้ เช่น  Google, IBM, Wikipedia, Audi, National Geographic, CNN
  • ผู้บริสุทธิ์ (Innocent) คือ บุคลิกที่มีความสดใส เป็นมิตร ไม่มีพิษมีภัย เช่น Coke, McDonald, Dove
  • วีรบุรุษ (Hero) คือ บุคลิกที่มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ชอบการแข่งขัน เช่น Land Rover, Nike, Adidas, FedEx
  • ผู้วิเศษ (Magician) คือ บุคลิกที่สร้างสรรค์สิ่งที่น่าเหลือเชื่อ มหัศจรรย์ เช่น Disney, Tesla, Apple
  • ผู้นอกเหนือกฎ (Outlaw) คือ บุคลิกที่ชอบคิดต่าง มีความท้าทาย ไม่ตามใคร เช่น  Harley, Diesel, Levi, Virgin
  • ผู้สนุกสนาน (Jester) คือ บุคลิกที่มีความสดใส ร่าเริง เช่น  M&M, Skittles, Barcidi
  • คนธรรมดา (Everyman) คือ บุคลิกที่เรียบง่าย เข้าได้กับทุกคน เช่น  KitKat, IKEA, KFC, Ebay
  • คนรัก (Lover) คือ บุคลิกที่มีความดึงดูด มีเสน่ห์ น่าค้นหา เช่น  Magnum, Dior, Chanel, AXE

สร้างแบรนด์ผ่าน Social Media ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง!

ในยุคนี้การสื่อสารคอนเทนต์ออกมาผ่านสื่อออนไลน์เป็นที่นิยมกันอย่างมาก ผู้คนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย พกสมาร์ทโฟนตลอดเวลา ดูโทรทัศน์น้อยลง ดังนั้นการสื่อสารคอนเทนต์ออกมาผ่าน Social Media จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง แต่ไม่ใช่ทุกคอนเทนต์ที่จะบรรลุผลตามที่คาดหวังได้ เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกช่องทางการสื่อสารให้ถูกต้องกับคอนเทนต์ที่ต้องการสื่อออกไป โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการทำคอนเทนต์ก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายของคอนเทนต์นั้น ๆ คือใคร เราจึงจะเลือกช่องทางการสื่อสารคอนเทนต์ได้ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด

สร้างแบรนด์ผ่านการทำ community ช่วยให้ลูกค้าติดใจ

กลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีของแบรนด์กับลูกค้า เป็นกลยุทธ์เบสิกที่ทุกแบรนด์ใช้กัน เนื่องจากการรักษาฐานลูกค้าเก่าง่ายกว่าการหาลูกค้าใหม่อยู่แล้ว ดังนั้นแบรนด์ต้องมีทักษะการสื่อสารออกมาดีต่อผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความไว้วางใจ เชื่อถือ อยากใช้แบรนด์ของเราต่อ ซึ่งถ้าผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจมากกว่าที่คาดหวังไว้ ผู้บริโภคจะรู้สึกดีกับแบรนด์ มีภาพจำที่ดีต่อแบรนด์ เกิดความจงรักภักดีกับแบรนด์ (Brand Loyalty) กลับมาซื้อซ้ำหรือเกิดการบอกต่อแบบปากต่อปากได้ ฉะนั้นการรักษาความสัมพันธ์ของแบรนด์กับลูกค้าเป็นอีกสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการสร้างแบรนด์

ซึ่งพอโลกของเราเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่ใคร ๆ ก็มีเครื่องมือการสื่อสารในการทำคอนเทนต์ต่าง ๆ ได้ ก็ส่งผลให้มีแบรนด์ใหม่ผุดขึ้นมากมาย มีการแข่งขันที่สูง เป็นเจ้าของแบรนด์ได้อย่างหลากหลาย ทำให้เกิดคู่แข่งในตลาดที่ล้นหลาม แต่ก็ยังมีหลายคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์เนื่องจากบางคนนำกลยุทธ์ต่าง ๆ ไปใช้ โดยยังไม่รู้จุดประสงค์ที่แท้จริงว่าใช้เพื่ออะไร ? ไม่มีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่ชัดเจน คิดว่านำกลยุทธ์เหล่านั้นมาใช้เพียงครั้งเดียวแล้วจบ

ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ผู้บริโภคไม่สามารถจดจำแบรนด์เราได้ในระยะเวลาสั้น ๆ อย่างแน่นอน การสร้างแบรนด์นั้นเป็นกระบวนวิธีการที่ต้องอาศัยความอดทน ทุ่มเท ให้เวลา ใส่ใจ เน้นความสม่ำเสมอ ใช้เวลาระยะยาว ซึ่งผู้ที่มีความตั้งใจแน่วแน่และมีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่ชัดเจน จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์อย่างแน่นอนครับ

หากคุณกำลังมองหาบริษัทมืออาชีพที่จะช่วยคุณสร้าง Branding ที่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนกับธุรกิจของคุณ ทางเรา BEP Digital Agency ยินดีให้คำปรึกษา เพื่อทำให้แบรนด์ของคุณออกมาสมบูรณ์ที่สุด และทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ทางเรายังมีบริการ Digital Marketing, Google Ads, SEO, Social Media Ads และบริการอื่น ๆ ในเรื่องของการ ออกแบบเว็บไซต์ อย่าง UX/UI และ Webflow อีกด้วยครับ

{{CTABrand="/blog"}}

Blogs Recommended

Back to top