Back

ทำความรู้จักกับ Domain Name ก่อนตั้งชื่อเว็บไซต์ของคุณ

Table of Contents

Domain Name คืออะไร ?

Domain Name คือชื่อเฉพาะที่ตั้งขึ้นสำหรับเว็บไซต์นั้น ๆ เพื่อระบุถึงตัวตนหรือองค์กรของคุณ เป็นการใช้ชื่อแทน IP Address ที่มีตัวเลขถึง 16 หลัก เพราะถ้าหากยังต้องใช้ตัวเลขในการค้นหาเว็บไซต์อยู่ล่ะก็ยุ่งยากสุด ๆ แน่นอน เราจึงต้องมีชื่อโดเมนนั่นเองครับ 

โดยปกติแล้วเราควรตั้งชื่อโดเมนให้สั้น กระชับ ง่ายต่อการจดจำ เพราะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ ซึ่งในกลุ่มธุรกิจส่วนใหญ่ก็มักใช้ชื่อแบรนด์ของตนเองเป็นชื่อโดเมน เช่น “apple”.com, “toyota”.co.th และ “samsung”.com/th/ เป็นต้น

 

Domain Name ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?

การตั้งชื่อโดเมนจะประกอบไปด้วย Top-level Domain, Second-level Domain, และ Subdomain ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้คืออะไร ต้องนำไปตั้งชื่อโดเมนอย่างไร วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ให้แล้ว ตามไปดูกันครับ

 

Top-level Domain

Top-level Domain (TLD) คือ โดเมนที่ระบุประเภทหรือประเทศของเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งจะอยู่ตำแหน่งขวาสุดของ Domain Name โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. Domain Name ประเภทสากล หรือ Generic Top-Level Domain (gTLD)

  • .com ย่อมาจาก commercial เว็บไซต์เชิงพาณิชย์
  • .net ย่อมาจาก network เว็บไซต์ทำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่าย
  • .ac ย่อมาจาก academia เว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา
  • .edu ย่อมาจาก Education เว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา
  • .org ย่อมาจาก organization เว็บไซต์ที่เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร
  • .go ย่อมาจาก government เว็บไซต์ที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐ
  • .int ย่อมาจาก international เว็บไซต์องค์กรนานาชาติ

2. Domain Name ประจำสัญชาติ หรือ Country Code Top-Level Domain Name (ccTLD) 

  • .us เว็บไซต์ประเทศสหรัฐ
  • .cn เว็บไซต์ประเทศจีน
  • .th เว็บไซต์ประเทศไทย
  • .au เว็บไซต์ออสเตรเลีย
  • .ca เว็บไซต์แคนาดา
  • .ch เว็บไซต์สวิตเซอร์แลนด์
  • .de เว็บไซต์เยอรมัน

Second-level Domain

Second-level Domain (SLD) คือ โดเมนที่บ่งบอกถึงจุดประสงค์ของเว็บไซต์นั้น ๆ หรือเรียกว่า Domain Name โดยจะเขียนเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์เล็กทั้งหมด ซึ่งจะอยู่ตำแหน่งซ้ายของ Top-level Domain และอยู่ตรงกลางของชื่อ Domain Name เช่น www.“bepgroup”.space เป็นต้น

Subdomain

Sub-domain หรือ Third-level Domain คือ โดเมนที่แบ่งหมวดหมู่เนื้อหา เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีคอนเทนต์หลากหลาย โดยตัวเว็บ Sub-domain จะเป็นเว็บไซต์ใหม่ที่แยกออกมาจากเว็บไซต์หลัก เพื่อทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจง่าย ๆ เช่น www.bepgroup.space มีเว็บไซต์แยกออกมาเป็น “news.”bepgroup.space เพื่อลงข่าว และ “blog.”bepgroup.space เพื่อลงบล็อกบทความต่าง ๆ เป็นต้น

เกณฑ์การตั้ง Domain Name ที่ถูกต้อง

  • ตั้งชื่อได้ไม่เกิน 67 ตัวอักษรอักขระ (Character) และไม่สามารถเว้นวรรคได้
  • ห้ามใช้เครื่องหมายพิเศษ เช่น ~ ! @ # $ % ^ * { } [ ] ? ฯลฯ
  • สามารถตั้งชื่อได้ทุกภาษา (Internationalized Domain Name) แต่ไม่สามารถผสมภาษาในชื่อโดเมนได้ เพราะใช้ได้เพียงภาษาเดียวเท่านั้น
  • สามารถใช้ชื่อผสมกับตัวเลข 0 ถึง 9 ได้ทุกตำแหน่งของชื่อ และมีเครื่องหมายขีด (-) ระหว่างคำได้แต่ไม่สามารถอยู่เป็นตัวหน้าและตัวท้ายได้
  • ไม่สามารถตั้งชื่อโดเมนซ้ำกับโดเมนที่มีอยู่

เทคนิคการตั้ง Domain Name 

  • ควรตั้งชื่อโดเมนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะเป็นสากล ใช้งานง่าย ลูกค้าจดจำได้ดี
  • ควรตั้งชื่อโดเมนสั้น ๆ สะกดง่าย ความหมายตรงตัว หรือตั้งชื่อตามธุรกิจได้เลย เพื่อง่ายต่อการจดจำและเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาบน Search Engine ได้ดี
  • ควรเลือกใช้ Top-level Domain ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ของเว็บไซต์ เช่น สถาบันการศึกษาก็ต้องเลือกใช้ edu. หรือ ac. เป็นต้น
  •  ไม่ควรใส่เครื่องหมายขีด (-) เยอะเกินไป 
  •  ไม่ควรใช้ชื่อโดเมนที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นอยู่ในชื่อ
  •  ในกรณีคำนั้นมีความหมายในตัวอยู่แล้ว ก็ไม่ควรมีตัวอักษร “s” เป็นตัวอักษรตัวสุดท้าย เพราะอาจสร้างความเข้าใจผิด ทำให้ผู้ใช้งานเข้าผิดเว็บไซต์ได้

 

จะเห็นได้ว่าการตั้งชื่อโดเมนไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากหรือซับซ้อนเลย เพียงแค่ต้องค่อย ๆ ตั้งชื่อไปทีละขั้น ซึ่งเราก็ขอแนะนำอีกครั้งว่าการตั้งชื่อโดเมนที่ดีนั้นควรตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เพราะเป็นสากลมากที่สุด ลูกค้าจดจำได้ง่ายและสามารถนำไปทำ SEO ต่อได้ดีครับ

 

หากคุณสนใจเกี่ยวกับการตั้งชื่อ Domain Name บนเว็บไซต์ แน่นอนว่าคุณต้องสนใจในเนื้อหาการสร้างเว็บไซต์ให้ติดอันดับต้น ๆ ตามมาอ่านต่อได้ที่ :

{{CTAWebsite="/blog"}}

Blogs Recommended

Back to top