Chapter 4/2 การตั้งค่าการติดตาม Conversion step by step
ในบทนี้เราจะดำเนินขั้นตอนของการตั้งค่า Conversion tracking มีความสำคัญมากเพราะจะช่วยให้คุณ รู้และเข้าใจว่าแคมเปญของคุณมีประสิทธิภาพเพียงใด ที่จะทำให้ผู้ใช้ทำตามที่คุณต้องการได้ อย่างเช่นการขอข้อมูลลงทะเบียน E-mail , การซื้อสินค้า
ก่อนอื่นให้คลิกไอคอน "เครื่องมือและการตั้งค่า" ในอินเทอร์เฟซ Google Ads แล้วเลือก Conversion จากเมนูแบบเลื่อนลงก่อนนะครับ

ในส่วนของภาพด้านล่างนี้คือภาพหน้าจอการตั้งค่า ใน Google Ads สำหรับ การติดตามการกระทำเป็น conversion ของเว็บไซต์มาดูขั้นตอนต่างๆที่คุณต้องทำกันเลย

อันดับแรกต้องตั้งชื่อก่อน ซึ่งคุณจะต้องตั้งชื่อให้ง่ายต่อการที่ทุกๆฝ่ายจะทำความเข้าใจแคมเปญของคุณ
Conversion action types
ต่อมาให้เลือกหมวดหมู่ที่อธิบายถึงการกระทำที่ถือเป็น conversion ได้ดีที่สุด ซึ่งคุณสามารถเลือกได้ดังนี้
- Purchase/sale
- Sign-up
- Lead
- View of a key page
- Other
ความสำคัญที่คุณจะต้องเลือกขึ้นอยู่กับประเภทของ conversion ที่คุณกำลังติดตาม หากธุรกิจของคุณ หรือ ลูกค้าของคุณ กำหนดมูลค่าเฉพาะสำหรับการดาวน์โหลดเอกสาร white paper ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเลือก “ใช้มูลค่าเดียวกันสำหรับแต่ละ Conversion” และป้อนมูลค่าเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้ว E-commerce ต้องการใช้มูลค่าการขายทั้งหมดซึ่งโดยปกติจะแตกต่างกันไปตามลูกค้า และในกรณีนี้ให้เลือก “ใช้มูลค่าที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละ Conversion” และสิ่งควรรู้คือต้องแก้ไขแท็ก Conversion เพื่อติดตามมูลค่าแบบเจาะจง หรือคุณสามารถเลือกที่จะไม่กำหนดมูลค่าเป็นตัวเงินให้กับ Conversion เลยก็ได้
Conversion counting
จากนั้นคุณจะสามารถเลือกว่าคุณต้องการให้ Google นับการกระทำที่ถือเป็น conversion ของผู้ใช้อย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว E-commerce จะเลือกนับ conversion “Every” เนื่องจากมูลค่าสะสมจะเชื่อมโยงเมื่อผู้ใช้มีการซื้อหลายครั้งหลังจากที่ได้ คลิกโฆษณา อย่างไรก็ตามธุรกิจบริการ ส่วนมากจะทำการนับการดาวน์โหลด three white paper จากผู้ใช้คนเดียวกันเป็น Conversion “One”
Conversion windows
ตอนนี้ได้เวลาเลือกกรอบ หรือระยะเวลาที่เราจะต้องบอกกับเจ้าของแพลตฟอร์มรู้แนวทางในการ Optimize ว่าจะทำให้โฆษณาของคุณดีหรือแย่ลง กรอบเวลา Conversion ก็คือเวลาสูงที่คุณต้องการนับ Conversion หลังจากมีผู้คลิกหรือโต้ตอบกับโฆษณาของคุณ กล่าวอีกอย่างคือ อะไรที่ไม่สมเหตุสมผลที่จะให้เครดิตแคมเปญ PPC ของคุณสำหรับ Conversion ต่อไป
กรอบเวลา Conversion ของคุณจะขึ้นอยู่กับรอบการขายของคุณและคุณอาจมีความยาวของกรอบเวลา Conversion ที่แตกต่างกันสำหรับการกระทำที่ถือเป็น Conversion ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น นายหน้าประกันภัยอาจกำหนดกรอบเวลา 7 วัน สำหรับคำขอใบเสนอราคา
และกรอบเวลา 90 วัน (ความยาวสูงสุด) สำหรับการซื้อกรมธรรม์
View - through Conversion เป็นค่าเริ่มต้นคือ 1 วัน คุณจะไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งนี้และจะใช้กับแคมเปญในเครือข่าย ดิสเพลย์และวิดิโอเท่านั้น ซึ่งการค้นหา Conversion และ View - through ตัวเลขนี้จะแสดง Conversion ที่เกิดขึ้นหลังจากที่คนเห็นโฆษณาแล้วแต่ไม่ได้ทำการคลิกโฆษณา แค่เห็นแล้วผ่านไปเลยไม่ได้คลิก
Count as conversion for reporting
โดยส่วนมากคุณจะทำเครื่องหมายในช่องเพื่อรวมการกระทำที่ถือเป็น Conversion ไว้ในคอลัมน์ ในการรายงานของ Google Ads ซึ่งคอลัมน์ Coversion คือสิ่งที่ Google Ads ใช้ในการเสนอราคาอัตโนมัติ หรือ Smart Bidding ซึ่งเป็นอัลกอริทึม เมื่อเข้าสู่ Smart Bidding และหากคุณต้องการวัดผลการ
กระทำและไม่มีการปรับราคาเสนอให้เหมาะสมกับการกระทำ เช่น การเข้าชมหน้าใดหน้าหนึ่งในไซต์ คุณสามารถยกเลิกโดยการเลือกที่ช่องนี้ได้

Attribution models
คือรูปแบบการให้เครดิตกับ Conversion ที่เกิดขึ้น ว่าจะให้ที่ Channel ไหน ใน Google Ads คุณสามารถกำหนดรูปแบบการระบุแหล่งที่มาสำหรับเหตุการณ์ Conversion แต่ละรายการจากที่คุณสร้าง ปัจจุบันค่าเริ่มต้นคือ”Last click” ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง การตั้งค่านี้จะกำหนดว่าแต่ละคลิกจะได้รับเครดิตเท่าใดสำหรับ Conversion ของคุณ
Note :: รูปแบบการระบุแหล่งที่มาของ Google Ads จะไม่สามารถใช้ได้กับ Conversion ของแอพพลิเคชั่น และ in-store นอกจากนี้ยังไม่สามารถใช้ได้กับโฆษณาบนเครือข่ายดิสเพลย์รวมถึงวิดิโออีกด้วย
ในบทต่อไปเราจะมาเรียนรู้กันอย่างละเอียดในเรื่องของการตั้งค่าการชำระเงิน ข้อมูล การติดต่อหลักๆและการอนุญาตการเข้าถึง กันนะครับ
cr: searchengineland.com
{{CTA="/blog"}}