Back

วิธีการทำ SEO ให้ติดหน้าแรกด้วยตนเอง

การทำ SEO คืออะไร?

“หัวใจสำคัญของ SEO คือการทำให้เว็บไซต์ของแบรนด์ติดอันดับต้นๆในการค้นหาบนหน้าแสดงผลค้นหา (SERPs - Search Engine Result Pages) เพิ่มโอกาสที่จะทำให้ผู้คนรู้จัก Brand ผ่านการเข้าชมเว็บไซต์ รวมถึงเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกด้วย” ซึ่งการทั้งหมดนี้จะเรียกง่ายๆว่า ทำ seo ให้เว็บไซต์ นั่นเอง

SEO ก็คือกลยุทธ์หรือวิธีการที่จะทำให้ผู้คนเข้าเว็บไซต์จากการเจอเว็บไซต์ของคุณจากการค้นหาบน Google เมื่อมีพวกเขาค้นหาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่แบรนด์ของคุณ

SEO จะช่วยให้เว็บไซต์มีการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ (Rankings) ที่ดีขึ้น และเพิ่มการมองเห็นแบรนด์ (Visibility) บนหน้าแสดงผลค้นหา ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ช่วยส่งเสริมจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ (Traffic)


หากเว็บไซต์ของเรามีสินค้าหรือบริการที่คนต้องการ เว็บไซต์ของเราจะมีโอกาสในการช่วยปิดการขาย หรือ ทำให้เว็บไซต์ เกิด Conversion ตัวอย่าง conversion ไม่ว่าจะเป็น การสมัครสมาชิก หรือ การลงทะเบียน เป็นต้น


พฤติกรรมของลูกค้านั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา SEO จึงสามารถเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการวางตำแหน่งหรือจุดยืนให้กับแบรนด์ และช่วยสร้างความมั่นใจว่ากลยุทธ์ทางการตลาดของแบรนด์ตรงกับพฤติกรรมการซื้อ

ทุกวันนี้ผู้คนส่วนมากใช้ Search Engine อย่าง Google ในการค้นหาสินค้าและบริการก่อนที่จะทำการซื้อ มากกว่าช่องทางอื่นๆ


Forrester Research เปิดเผยว่า 60% ของลูกค้านั้นไม่ต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับพนักงานขาย นอกจากนี้ 68% ของลูกค้าชอบหาข้อมูลด้วยตัวเอง และ 62% ของลูกค้ามีเกณฑ์การเลือกผู้ขายของตัวเอง

"จากผลการสำรวจของ DemandGen พบว่า 56% ของลูกค้าแบบ B2B ไปที่เว็บไซต์ของผู้ขายโดยตรง ในขณะที่ 61% ของลูกค้าแบบ B2B ใช้วิธีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องการจาก Search Engine จากนั้นพวกเขาจะประเมินจากทางเลือกที่มีโดยพิจารณาจากการโฆษณาทาง Social Media และรีวิวของผู้ใช้บริการอื่นๆ ดังนั้นโอกาสที่ลูกค้าจะเลือกแบรนด์ของคุณไปพิจารณา ก็คือ เว็บไซต์ของคุณจะต้องแสดงเป็นอันดับต้นๆในหน้าแสดงผลค้นหา"

แล้ว Google ใช้วิธีไหนในการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ของเรา ?

“เป้าหมายของ Search Engines ก็คือ การให้คำตอบหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากที่สุดแก่ผู้ใช้งาน”

Search Engines เหล่านี้จะเลือกหน้าเพจที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับคำค้นหามากที่สุด และจัดอันดับโดยแสดงหน้าเพจที่ได้รับความนิยมหรือน่าเชื่อถือสูงที่สุดก่อน โดยวิเคราะห์จากคำค้นหาและเนื้อหาในหน้าเพจ เช่น หัวข้อ หรือ Keyword ซึ่ง Google ถือว่ายิ่งหน้าเพจได้รับความนิยมมาก แปลว่าเนื้อหาตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ดี


ทาง Google ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Search Algorithms ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว ถึงแม้ว่าทาง Search Engines จะไม่เปิดเผยอัลกอริทึมของพวกเขา แต่จากการทำ SEO ในระยะเวลาหนึ่ง ก็ทำให้สามารถระบุได้ว่า ปัจจัยใดบ้างที่พวกเขาใช้พิจารณาในการจัดอันดับ

3 กลยุทธ์หลักในการทำ SEO

1. Technical Setup

โดยปกติแล้ว Search Engine จะใช้วิธีการสแกนเพื่อทำความเข้าใจหัวข้อและระบุ Keywords บนหน้าเพจของเว็บไซต์ หลังจากนั้นจะทำการเพิ่มหน้าเพจนั้นๆลงในฐานข้อมูลของดนื้อหาทั้งหมดที่พบบนเว็บ หรือที่เรียกว่า Index ด้วยวิธีนี้อัลกอริทึมจะสามารถพิจารณาแสดงเว็บไซต์ของคุณในหน้าแสดงผลค้นหา โดย Search Engine จะวิเคราะห์ข้อมูลจากแค่เนื้อหา และไม่ได้สนใจการจัดรูปแบบ สี รูปภาพของเว็บไซต์เลย

ดังนั้นแม้ว่าเว็บไซต์ของคุณจะสวยงามเพียงใด แต่สำหรับ Search Engine แล้วอาจจะไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาของคุณได้เลย ดังนั้นคุณควรให้ความสำคัญกับปัจจัยดังต่อไปนี้



  • โครงสร้างเว็บไซต์และลิงก์ที่เอื้อต่อการเก็บข้อมูลของ Search Engine

    Google Bot จะเข้ามาเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน้าเพจ หรือที่เรียกว่า Crawling และใช้ลิงก์ในการอ่านข้อมูลเนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์ เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล โดย Bot จะไม่สามารถมองเห็นรูปภาพ.fwfh ดังนั้นคุณจะต้องทำโครงสร้างเว็บไซต์และลิงก์ให้เป็นตัวหนังสือเท่านั้น
  • โครงสร้าง URL ที่เข้าใจง่าย

    Search Engine Bot จะไม่ชอบโครงสร้างที่ซับซ็อน หากเป็นไปได้ คุณควรทำ URLs ให้สั้นและมี Keywords หลักที่ตรงกับหัวข้อและเนื้อหาเว็บไซต์
  • ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์

    ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้คุณภาพ เว็บไซต์ที่โหลดได้รวดเร็ว จะทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้รับประสบการณ์ที่ดี แต่หากเว็บไซต์มีองค์ประกอบเยอะและต้องใช้เวลาในการโหลดนานมาก เช่น ต้องรอโหลดรูปภาพ ก็อาจจะทำให้ลูกค้าไม่อยากใช้งาน
  • ลิงก์เสีย (Dead links)

    ลิงก์ที่เสียจะทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดี และยังทำให้ Search Engine Bot ไม่สามารถจัดทำ Index เนื้อหาของเว็บไซต์ได้อีกด้วย

  • Sitemap และ Robots.txt

    Sitemap คือไฟล์ที่มี URLs ทั้งหมดบนเว็บไซต์ซึ่ง Search Engine Bot จะในการระบุว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลและทำ Index ส่วนไหน ในทางกลับกัน Robot.txt จะเป็นไฟล์ที่บอกกับ Search Engine Bot ว่าเนื้อหาส่วนไหนไม่ต้องทำการ Index เช่น นโยบายเฉพาะของแบรนด์ที่คุณไม่ต้องการให้แสดงในหน้าแสดงผลค้นหา
  • เว็บไซต์ไม่มีเนื้อหาที่ซ้ำกัน

    เนื้อหาที่ซ้ำกันจะทำให้ Search Engine Bot สับสน และไม่สามารถตัดสินได้ว่าควรจะแสดงข้อมูลส่วนไหนบนหน้าแสดงผลค้นหา ดังนั้นพวกเขาจะไม่แสดงข้อมูลเหล่านั้นเลย
  • Google Page Experience

    เนื่องจาก Google ได้มีการประกาศออกมาเมื่อปีที่แล้วว่าจะมีการปรับการให้คะแนน SEO ในส่วนเว็บไซต์มากขึ้น แต่ตรงนี้จะเกี่ยวข้องกับ technical set จากสิ่งที่เรียกว่า Google Page Experience โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับการตั้งค่ารูปผ่านต่างๆ ซึ่งจะมีผลต่อความเร็วในการโหลดเว็บไซต์โดยตรง ดังนั้นเว็บไซต์ของเราควรมีการดูแลและปรับในส่วนนี้ให้ทำงานได้ดีเพื่อให้เว็บเราโหลดเร็วอยู่เสมอ ไม่ว่าเราจะมี content เยอะแค่ไหนก็ตาม



2. Content

Content นั้นมีรูปแบบมากมาย ไม่ใช่แค่เป็นข้อความตัวหนังสือ แต่ยังรวมไปถึงรูปภาพ วีดีโอ คำแนะนำสินค้า หรือรายชื่อธุรกิจ เป็นต้น สำหรับ SEO นั้น

Content คือสิ่งที่ช่วยให้ผู้คนมองเห็นแบรนด์มากขึ้น เพราะ Search Engine Bot นั้นจะดูจากหัวข้อ Content และส่วนประกอบอื่นในการประเมินคุณภาพ โดยพวกเขาจะจับคู่คำค้นหากับหน้าเพจที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ในการเพิ่มประสิทธิภาพของ Content นั้นควรเริ่มต้นที่ Keyword


SEO ไม่ได้โฟกัสแค่การดึงดูดผู้คนเข้ามาชมเว็บไซต์ แต่ต้องการดึงดูดผู้คนที่ต้องการสินค้าของแบรนด์และกลายเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นไปได้เมื่อเว็บไซต์ของคุณติดอันดับในหน้าแสดงผลค้นหาและมี Keyword ตรงกับที่พวกเขาค้นหา ดังนั้น SEO ต้องเริ่มจากการค้นหาว่ากลุ่มลูกค้าใช้คำค้นหาแบบไหนใน Search Engine
กลยุทธ์การทำ On-page SEO ที่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า Search Engine จะเข้าใจหัวข้อ Keywords และสามารถจับคู่คำค้นหาที่เกี่ยวข้องได้ โดยเริ่มจาก

Keywords Optimization

ขั้นแรกต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า Google เข้าใจว่าคุณต้องการโฟกัส Keyword คำไหน และเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ คุณต้องมี Keywords ในส่วนต่างๆดังต่อไปนี้

  1. ชื่อหัวข้อ: พยายามวาง Keyword ให้อยู่ในชื่อหัวข้อ

  2. URL: Web address ก็ควรที่จะมี Keyword ด้วย

  3. H1 Tag: ส่วนใหญ่ Tag นี้จะแสดงชื่อหัวข้อตามค่าเริ่มต้นในระบบจัดการเนื้อหา

  4. ย่อหน้าแรกของเนื้อหา: การมี Keyword ในย่อหน้าแรกจะช่วยให้ Google มั่นใจในเนื้อหา

  5. Meta-title และ Meta-description tags: เป็นการแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้าแสดงผลค้นหา ซึ่ง Search Engine ใช้เพื่อทำความเข้าใจหน้าเพจเพิ่มเติม

  6. ชื่อไฟล์รูปภาพและ ALT tags: หรือ img alt tag ชื่อไฟล์รูปภาพควรมี Keyword อย่างน้อยหนึ่งรูป


ปัจจัยอื่นๆ

On-page SEO ไม่ใช่แค่การใส่ Keyword เท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ช่วยยืนยันความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ เช่น

  • External links: การมีลิงก์ไปยังข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหน้าเพจอื่นๆ นอกจากจะช่วยให้ Google ระบุหัวข้อเพิ่มเติมได้แล้ว ยังทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์มีประสบการณ์ที่ดีอีกด้วย

  • Internal links: ลิงก์เหล่านี้จะช่วยเพิ่มอันดับได้ โดยช่วยให้ Search Engine สามารถรวบรวมข้อมูลหน้าอื่นๆในเว็บไซต์ และยังแสดงความเชื่อมโยงระหว่างหน้าต่างๆที่ช่วยให้การค้นหาง่ายขึ้น ตามกฏแล้ว คุณควรมี 2-4 ลิงก์ต่อโพสต์

  • ความยาวของ Content: เนื้อหาที่มีข้อมูลละเอียดถี่ถ้วนจะได้อันดับที่ดีเสมอ

  • Multimedia: แม้ว่าจะไม่มีข้อกำหนด แต่ multimedia เช่น วีดีโอ หรือข้อความเสียง ก็สามารถแสดงถึงคุณภาพของเว็บไซต์ได้ และยังช่วยให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์อยู่ได้นานขึ้น

3. ลิงก์ (Links)

นอกจากที่ Search Engine Bot จะพิจารณาเลือกการจัดอันดับจากความเกี่ยวข้องของคำค้นหาและ Content แล้วนั้น พวกเขายังเลือกจากความเป็นที่นิยมอีกด้วย ซึ่งลิงก์คือสิ่งที่มีส่วนรับผิดชอบต่อความเป็นที่นิยมของเว็บไซต์

Backlink คืออะไร?

Backlink หรือลิงก์ คือการอ้างอิงเนื้อหาของคุณบนเว็บไซต์อื่นๆ หรือแฝงไปใน Content ต่างๆ โดยมีเป้าหมายให้ลิงก์กลับมาที่เว็บไซต์ของคุณ


Google จะใช้ทั้งปริมาณและคุณภาพของลิงก์ในลักษณะนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่บอกถึงความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ เพราะเว็บมาสเตอร์จะอ้างอิงเว็บไซต์ยอดนิยมและมีคุณภาพสูงมากกว่าเว็บไซต์ธรรมดา

คุณภาพของลิงก์


SEO โฟกัสที่จะสร้างลิงก์ที่มีคุณภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะหากลิงก์มีคุณภาพต่ำ ก็จะส่งผลต่ออันดับบนหน้าแสดงผลค้นหา โดยควรให้ความสำคัญกับปัจจัยดังนี้

  • ความนิยมของ Linking site

    ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือ ก็จะถูกพิจารณาให้เป็นลิงก์ที่มีคุณภาพสูงตามไปด้วย

  • ความเกี่ยวข้องกับหัวข้อ

    ลิงก์จากเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือที่มีหัวข้อคล้ายคลึงกับเว็บไซต์ของคุณ ก็จะได้เปรียบกว่าลิงก์จากเว็บไซต์ทั่วไป

  • ความเชื่อถือใน Domain

    Search Engine จะประเมินความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ ก็จะได้อันดับที่ดีกว่าเสมอ


Link building

Link building คือกระบวนการสร้าง backlinks ใหม่ๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างท้าทาย เพราะคุณต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงกลยุทธ์ และความอดทนในการสร้างลิงก์ที่มีคุณภาพและผ่านเกณฑ์ต่างๆออกมา โดยใช้กลยุทธ์ดังต่อไปนี้

  • Editorial, organic links ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ที่อ้างอิงเนื้อหาของคุณด้วยตัวพวกเขาเอง
  • Outreach ติดต่อเว็บไซต์อื่น เพื่อให้อ้างอิงเนื้อหาจากเว็บไซต์ของคุณ

  • Guest posting การโพสต์บทความของคุณลงในเว็บไซต์อื่น โดยใส่ลิงก์ใน Content หรือชีวประวัติผู้เขียน เพื่อให้สามารถกลับมายังเว็บไซต์ของคุณเอง
  • Profile links มีเว็บไซต์จำนวนมากที่เสนอโอกาสให้สร้างลิงก์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Online profile คุณสามารถใส่รายละเอียดลิงก์เว็บไซต์ของคุณได้

  • การวิเคราะห์คู่แข่ง วิเคราะห์ backlink ของคู่แข่งเพื่อจะสร้างลิงก์ใหม่สำหรับเว็บไซต์ของคุณ

การสังเกตการณ์และติดตามผลลัพธ์

การตั้งค่าทางเทคนิค เนื้อหา และลิงก์ที่กล่าวไปข้างต้นต่างก็มีความสำคัญต่อการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ แต่การสังเกตการณ์และติดตามผลลัพธ์ของ SEO นั้นก็จะช่วยปรับปรุงกลยุทธ์ของคุณให้ดียิ่งขึ้นไปอีก การวัดความสำเร็จของ SEO นั้น หมายถึง การติดตามข้อมูลจำนวนของการเข้าชมเว็บไซต์ การมีส่วนร่วม และลิงก์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPIs - Key Performance Indicators) ดังต่อไปนี้

  • การเติบโตของจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ทโดยไม่ผ่านการซื้อโฆษณา (Organic traffic growth)

  • การจัดอันดับ Keywords (Keywords rankings)

  • Conversions ของการเข้าชมเว็บไซต์ที่ไม่ผ่านการซื้อโฆษณา (Conversions from organic traffic)

  • เวลาเฉลี่ยในการอยู่ในหน้าเพจ (Average time on page and the bounce rate)

  • จำนวนการเข้าชมหน้า Landing pages ที่ไม่ผ่านการซื้อโฆษณา (Top landing pages attracting organic traffic)

  • จำนวนหน้า Indexed pages (Number of indexed pages)

  • การเติบโตของลิงก์ (Links growth)

หากสนใจบริการทำ SEO สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

>> การทำ SEO ให้ติดหน้าแรกภายใน 90 วัน

หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้จากผู้เชี่ยวชาญของเรา

{{CTA="/blog"}}

Blogs Recommended

Back to top