Back

เทคนิคออกแบบข้อมูลบนเว็บไซต์ให้น่าอ่าน!

เคยเจอมั้ย? เว็บไซต์ที่จัดเรียงข้อมูลแบบไม่มีย่อหน้า ไม่มีเว้นวรรค ขนาดฟอนต์ตัวเล็ก อ่านยากสุด ๆ หรือจะเป็นการนำเสนอข้อมูลที่อัดแน่นมากจนทำให้บรรทัดยาวเกินไป อ่านแล้วไม่รู้ว่าประโยคจะไปจบลงที่ตรงไหน เลื่อน Scroll จนเมื่อยนิ้ว เรียกได้ว่าสร้างความลำบากให้แก่ผู้อ่านอย่างมาก จนทำให้อยากปิดหน้าต่างเว็บไซต์ไปเลย

ซึ่งถ้าใครไม่อยากสร้างภาระให้ผู้อ่านเหมือนกับปัญหาข้างต้น วันนี้เราก็ได้รวบรวม 4 วิธีออกแบบข้อมูลบนเว็บไซต์ให้อ่านง่าย สบายตามาให้แล้ว รับรองว่าเคลียร์ปัญหาการจัดการข้อมูลยาว ๆ ให้ดูดีและสวยงามได้อย่างแน่นอน ตามไปดูกันเลย!

4 วิธีออกแบบข้อมูลบนเว็บไซต์ให้อ่านง่าย สบายตา

1. แบ่งข้อมูลเป็นตอน

การแบ่งข้อมูลเป็นตอนเหมาะสำหรับเว็บไซต์ประเภทให้ความรู้หรือทริคการให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดมาก เพราะถ้าเราพยายามยัดข้อมูลลงไปเพียงแค่หน้าเดียวจบ จะทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ต้องเลื่อน Scroll อ่านจนเมื่อยนิ้ว ซึ่งเราก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการจัดกลุ่มเนื้อหาแยกออกมาเป็น 2-3 ตอน และจัดกลุ่มด้วยเมนู Pulldown ที่อยู่บริเวณด้านข้างของเว็บไซต์ หรือการลิงก์ไปยังเนื้อหาบนหน้าเว็บเพจอื่น ๆ ด้วยการใช้เครื่องมือ Hyperlink in Text ในส่วนท้ายของเนื้อหาตอนนั้น ๆ เพื่อให้ผู้ชมคลิกเข้าชมเนื้อตอนต่อไปได้ง่ายครับ


2. แทรกรูปภาพประกอบ

รู้หรือไม่ว่า การเขียนคอนเทนต์นั้นต้องมาพร้อมกับการแทรกรูปภาพประกอบ เพื่อตกแต่งหน้าเว็บไซต์ให้สวยงามและทำให้ผู้อ่านเห็นภาพที่เราต้องการจะสื่อ เป็นตัวช่วยอธิบายที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจในคอนเทนต์ที่เราเขียนมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังช่วยเป็นจุดพักสายตาให้กับผู้อ่านได้อีกด้วย ซึ่งเราก็ต้องเลือกภาพประกอบที่เข้ากับเนื้อหา พร้อมทั้งใช้เครื่องมือ Insert/Edit Image จากนั้นเลือกจัดวางตำแหน่งรูปภาพเป็นซ้าย กลาง หรือขวา เพื่อให้รูปภาพแสดงผลได้ตามที่คุณต้องการ


3. เส้นคั่นระหว่างย่อหน้า

ในเว็บเพจที่มีเนื้อหาหลาย ๆ เรื่องประกอบอยู่ในหน้าเดียวกัน การเลือกใช้เส้นคั่นระหว่างย่อหน้าจะช่วยแยกหน้าหาแต่ละส่วนได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้อ่านไม่เกิดอาการสับสนหรือดวงตาล้า โดยเราสามารถเพิ่มเส้นคั่นระหว่างย่อหน้าได้ผ่านเครื่องมือ Insert Horizontal Line เพียงเท่านี้คุณก็จะมีเส้นคั่นระหว่างย่อหน้าได้ง่าย ๆ แล้วครับ


4. ปุ่มกลับสู่ด้านบน

การสร้างปุ่ม “กลับสู่ด้านบน” เป็นทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อ่าน สามารถคลิกกลับสู่เนื้อหาด้านบนเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ผู้อ่านไม่ต้องเลื่อน Scroll กลับขึ้นไปด้านบนเองให้เหนื่อย ซึ่งการสร้างปุ่มกลับสู่ด้านบนจะต้องสร้างลิงก์ผ่านเครื่องมือ Text Editor และมาร์คตำแหน่งด้านบน (top) ไว้เพียงเท่านี้เว็บไซต์ของคุณก็มีปุ่มกลับสู่ด้านบนได้แล้ว


เป็นยังไงกันบ้างกับ 4 วิธีออกแบบข้อมูลบนเว็บไซต์ให้น่าอ่าน ถือว่าเป็นทริคที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อ่านได้ไม่น้อย ช่วยให้อ่านได้ง่ายสบายตา ไม่ต้องเลื่อน Scroll ให้เมื่อยนิ้ว ซึ่งเราก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยเป็นทางออกให้กับนักออกแบบเว็บไซต์ได้ด้วยเช่นกัน และสามารถนำทริคเหล่านี้ไปปรับปรุงการแสดงผลของหน้าเว็บไซต์ให้ออกมาตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากที่สุด

แต่สำหรับใครที่กำลังมองหามืออาชีพด้านการออกเว็บไซต์และภาพลักษณ์ UX/UI ทางเรา BEP Digital Agency ยินดีให้คำปรึกษาฟรี! เพื่อทำให้เว็บไซต์ของคุณออกมาปังและสมบูรณ์ตามที่ต้องการ ติดต่อเราได้ที่นี่

{{CTAWebsite="/blog"}}

Blogs Recommended

Back to top