Back

เทคนิคการถ่าย video ให้น่าสนใจ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำคลิปวิดีโอเพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์กำลังมาแรงแซงทางโค้ง ไม่ว่าสื่อโซเชี่ยลมีเดียใด ๆ ก็ต้องมีฟังก์ชั่นถ่ายคลิปวิดีโอ เนื่องจากการถ่ายทอดคอนเทนต์ผ่านคลิปวิดีโอจะช่วยให้คุณเล่าเรื่องได้อย่างเห็นภาพมากกว่าการเขียนคอนเทนต์ผ่านตัวอักษร

โดยรูปแบบการถ่ายวิดีโอมีอยู่ด้วยกันหลากหลายแบบทั้งคลิปสั้นและคลิปยาว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการถ่ายคลิปวิดีโอก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก แต่การถ่ายวีดีโอให้น่าสนใจและน่าดึงดูดก็เป็นเรื่องที่ต้องมีเทคนิคเข้ามาช่วย ตามมาอ่านกันได้เลยครับ

 

1. วางแผนก่อนถ่ายคลิปวิดีโอ

คุณสามารถร่างสตอรี่บอร์ดคร่าว ๆ สั้น ๆ เพื่อกำหนดเรื่องราวของคลิปว่าควรออกมาในทิศทางใด พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายในการถ่ายวิดีโอ การวางแผนจะช่วยให้คุณถ่ายคลิปได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และเป็นโทนเดียวกันตลอดทุกช่วงของคลิปวิดีโอ ทำให้ผู้รับชมรู้สึกเพลิดเพลิน ลื่นไหล ไม่มีติดขัด

 

2. เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม

ในปัจจุบันมีกล้องให้เลือกหลากหลายแบบมาก ๆ และคุณภาพความคมชัดของกล้องก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการถ่ายคลิปวิดีโอ ยิ่งหากเป็นโปรดักส์ชั่นใหญ่ ๆ ก็ควรเลือกใช้กล้องตัวใหญ่ที่มีความคมชัดสูงถึงระดับ 4K โฟกัสดีเยี่ยม เพื่อให้งานออกมาอย่างมีคุณภาพ 

แต่ถ้าเป็นเพียงโปรดักชั่นส์เล็ก ๆ อย่างการถ่ายคลิปลงสื่อโซเชี่ยลมีเดีย ติ๊กต๊อก หรืออินสตาแกรม คุณสามารถใช้แค่เพียงกล้องโทรศัพท์ที่มีความชัดระดับนึงก็เหมาะสมกับการถ่ายวิดีโอแล้ว แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย แต่คุณจำเป็นต้องสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้น่าดึงดูด นอกจากนี้สามารถพึ่งพาอุปกรณ์เสริมอย่างขาตั้งกล้องและกิมบอล เพื่อลดความสั่นไหวของมือและเพิ่มความนิ่งของคลิปวิดีโอให้สมูทลื่นไหลได้อีกด้วย

3. เลือกใช้มุมกล้องให้เหมาะสม

มุมกล้องเปรียบเสมือนการถ่ายถอดอารมณ์จากคลิปวิดีโอสู่ผู้รับชม ทำให้ผู้รับชมรู้สึกเข้าถึงอารมณ์นั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยมุมยอดฮิตที่ใช้กันบ่อย ๆ นั้นคือ 

มุมสูง - เป็นมุมที่ช่วยนำสายตาคนดูไปทางด้านหลังตัวละคร

มุมต่ำ - เป็นมุมที่ทำให้ตัวละครดูยิ่งใหญ่ มีพลัง มั่นใจ เสมือนประสบความสำเร็จอะไรสักอย่างในชีวิต

มุมระดับสายตา - เป็นมุมที่ช่วยทำให้ภาพดูเป็นกลาง ไม่บิดเบี้ยว

มุมแทนสายตา -เป็นมุมที่ช่วยทำให้คนดูใกล้ชิดตัวละครหรือรู้สึกกำลังสวมบทบาทตัวละครนั้น ๆ 

มุมข้ามไหล่หรือมุมผ่านไหล่ - เป็นมุมที่ช่วยนำเส้นสายตาไปสู่สิ่งที่คนถ่ายต้องการจะให้โฟกัส

4. เลือกใช้แสงแต่ละช่วงให้เหมาะสม

Mood & Tone ของภาพเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับแสงเป็นหลัก ผู้รับชมจะเข้าถึงอารมณ์ตัวละครหรือไม่ แสงจะเป็นตัวช่วยกำหนดอารมณ์ของตัวละครนั้น ๆ ได้ เช่น ตัวละครมีความสุขก็ต้องใช้แสงที่สว่างสดใส แต่ถ้าหากตัวละครมีความทุกข์ก็ต้องดรอปแสงดูมืดทึบ เป็นต้น

5. ควบคุมความยาวของวิดีโอแต่ละช็อต

เนื่องจากคนเรามักไม่สนใจกับมุมเดิม ๆ ตลอดทั้งคลิปวิดีโอ หากมีช็อตใดที่มีความยาวมากเกินไป ผู้รับชมอาจรู้สึกเบื่อและปิดคลิปวิดีโอนั้นไปเลยก็ได้ ดังนั้นควรถ่ายวิดีโอไว้หลาย ๆ มุมมอง แล้วพอนำไปตัดคลิปวิดีโอก็ควรสลับสับเปลี่ยนให้มองเห็นหลาย ๆ มุมมอง เพื่อให้คลิปวิดีโอออกมาไม่น่าเบื่อและเป็นธรรมชาติมากที่สุด

หากคุณกำลังมองหาบริษัทมืออาชีพที่จะช่วยคุณในเรื่อง Video Production ทางเรา BEP Digital Agency ยินดีให้คำปรึกษาในเรื่องการผลิตคอนเทนต์วิดีโอสำหรับแบรนด์ของคุณ ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ได้อย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ได้รับผลตอบรับจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

นอกจากนี้ทางเรายังมีบริการ ออกแบบเว็บไซต์, UX/UI, Media design, Branding, และบริการอื่น ๆ ในเรื่อง Online marketing อย่าง SEO, Google Ads และ Social media Ads อีกด้วยครับ

{{CTA="/blog"}}

Blogs Recommended

Back to top