CDNs คือ เครือข่ายเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่กระจายและเชื่อมต่อถึงกันตามพื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยจะทำงานร่วมกันผ่านการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต เพื่อถ่ายโอนข้อมูลจำเป็นสำหรับการโหลดเนื้อหาต่าง ๆ ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น HTML, วิดีโอ, รูปภาพ และไฟล์ JavaScript เป็นต้น
หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า Content Distribution Networks (เครือข่ายกระจายข้อมูล) ทำหน้าที่เป็นเซิฟเวอร์ตัวกลางที่คอยจัดเก็บข้อมูลและกระจายข้อมูลที่แคชไว้ โดยเป้าหมายหลักของ CDNs คือ การลดระยะห่างทางกายภาพอย่างความล่าช้าระหว่างเซิฟเวอร์ต้นทางและผู้ใช้งานปลายทาง
สมมติว่าเซิฟเวอร์ต้นทางของเว็บไซต์ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น แต่มีผู้ใช้งานจากสหภาพยุโรปต้องการเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ CDNs ก็จะทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลจาก Edge Server ที่ตั้งอยู่ในสหภาพยุโรป โดยการส่งข้อมูลจาก Proxy Server ที่ใกล้ตัวกับผู้ใช้งานมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ต้นทางในญี่ปุ่น เพื่อให้ผู้ใช้งานจากสหภาพยุโรปเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
Content Delivery Network (CDNs) เปิดตัวครั้งแรกในช่วงปลายยุค 90 โดยมีวิวัฒนาการที่แบ่งออกได้ 3 รุ่น ดังนี้
- First Gen (Static CDNs) เปิดตัวในปี 1997
- Second Gen (Dynamic CDNs) เปิดตัวในปี 2544
- Third Gen (Multi-Purpose CDNs) เปิดตัวในปี 2010
แต่ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ CDNs มากมาย เช่น CloudFlare, Akamai, CDN77 และ Amazon CloudFront เป็นต้น
หากผู้ใช้งานเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่มีเครือข่ายเซิฟเวอร์ CDN เบราว์เซอร์ก็จะทำการเชื่อมต่อกับเซิฟเวอร์ต้นทางของเว็บไซต์และขอข้อมูลโดยตรง ทำให้อาจเกิดความล่าช้าเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหากผู้ใช้งานเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเครือข่ายเซิฟเวอร์ CDN ทางเบราว์เซอร์จะทำหน้าที่ให้บริการขอข้อมูลจาก Edge Server ตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ใกล้กับผู้ใช้งานที่สุด จากนั้น Edge Server จะส่งคำขอข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ต้นทาง เพื่อรับข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ต้นทางมาส่งมอบให้กับผู้ใช้งานปลายทาง พร้อมทั้งแคชไฟล์ตามคำขอให้ทั้งหมด
CDN มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลในเวอร์ชั่นแคชที่อยู่ในหลายภูมิภาคทั่วโลก เรียกว่า Points of Presence (PoPs) ซึ่งแต่ละ PoPs ประกอบไปด้วย Proxy Server ที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลกับผู้ใช้งานบริเวณใกล้เคียงแทนเซิร์ฟเวอร์ต้นทาง โดยจะมีการคำนวณค่าไดนามิกของ Edge Server ว่าตัวใดอยู่ใกล้ชิดกับผู้ใช้งานมากที่สุด จากนั้น CDNs จะทำการส่งข้อมูลถึงผู้ใช้งานปลายทาง ซึ่งสามารถช่วยลดระยะทางการส่งข้อมูลถึงผู้ใช้งานปลายทางให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
บทบาทหลักของ Content Delivery Networks คือช่วยลดระยะเวลาในการโหลดเว็บไซต์ เพราะข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ต้นทางจะอยู่ใกล้กับผู้ใช้งานปลายทางมากยิ่งขึ้น และยังมีบทบาทช่วยทำให้การโหลดเว็บไซต์มีความบาลานซ์ สมมติว่ามีผู้ใช้งานเข้ามาชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน CDN จะช่วยกระจายการเข้าถึงเหล่านี้ไปยังเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา Overloading ของเซิร์ฟเวอร์ที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเว็บไซต์
แต่ถึงแม้ว่าเซิร์ฟเวอร์ต้นทางจะล่ม CDN ก็ยังคงให้บริการข้อมูลที่แคชไว้จาก Edge Server ที่มีอยู่ มั่นใจได้ว่าบริการจาก CDN จะไม่มีการหยุดชะงักอย่างแน่นอน
บทบาทต่อมาของ CDN คือช่วยปรับปรุงความปลอดภัยของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกันกับที่ Content Delivery Network ใช้จัดการปัญหาปริมาณเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน ทำให้เว็บไซต์ปลอดภัยจากการคุมคามทางไซเบอร์ รวมถึงป้องกันการโจมตีแบบ Distributed Denial-of-Service (DDoS) อีกด้วย
และบทบาทสุดท้ายของ CDN คือช่วยปกป้องเว็บไซต์ผ่านทาง Web Application Firewall (WAF) ด้วยการวิเคราะห์และจัดช่องทางการรับส่งข้อมูลเข้า-ออก จากเว็บไซต์ พร้อมทั้งตรวจสอบคำขอ HTTP แต่ละรายการ และทำการบล็อก (Block) การรับและส่งข้อมูลที่น่าสงสัย เพื่อป้องกันภัยคุกคาม เช่น การเขียนสคริปต์ข้ามไซต์ (XSS), การโจมตีด้วยการแทรก SQL เป็นต้น
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ CDN เป็นเรื่องที่น่าท้าทาย เนื่องจากต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคในระดับหนึ่ง จึงมีความเข้าใจผิดบางอย่างเกี่ยวกับ CDN นั่นคือการใช้ CDN จะส่งผลกระทบต่อ SEO หรือไม่?
โดยทั่วไปแล้ว การใช้ CDN จะไม่มีผลต่อการจัดอันดับของเว็บไซต์ และยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี อย่างการเพิ่มความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ ก็ช่วยให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์ที่ดีต่อเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้คะแนน Core Web Vitals ดีขึ้นตามไปด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานยังมีความกังวลเกี่ยวกับการโฮสต์รูปภาพบนโดเมน CDN แทนที่จะเป็นโดเมนของเว็บไซต์ เพราะกลัวว่าจะส่งผลเสียต่อการจัดอันดับบน Google ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้ถูกคลี่คลายลงแล้ว เนื่องจากตัวแทนของ Google ได้กล่าวไว้ว่า ไม่ว่าคุณจะใช้โดเมนเดียวกันเพื่อโฮสต์รูปภาพ ก็ไม่มีผลต่อการจัดอันดับ SEO และยังมีข้อดีของการโฮสต์รูปภาพในโดเมนเดียวกันอีกด้วย นั่นคือจะทำให้กระบวนการเปลี่ยน CDN มีความตรงไปตรงมามากขึ้น
DNS ย่อมาจาก Domain Name Server มีหน้าที่แปลชื่อโดเมนเป็น IP Address (IP) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องจำชื่อที่อยู่ IP Address และถ้าหากเบราว์เซอร์ขอโดเมนที่จัดการโดยเซิร์ฟเวอร์ CDN เซิร์ฟเวอร์ DNS ก็จะทำหน้าที่กำหนด Edge Serverที่ดีที่สุด เพื่อจัดการคำขอนั้นตามที่อยู่ IP Address นั่นเอง
เซิร์ฟเวอร์ CDN ทำหน้าที่เป็นเซิฟเวอร์ตัวกลางที่คอยจัดเก็บข้อมูลและกระจายข้อมูลที่แคชไว้ ช่วยลดระยะห่างทางกายภาพอย่างความล่าช้าระหว่างเซิฟเวอร์ต้นทางและผู้ใช้งานปลายทาง
We'll keep you update with the lastest technology and marketing via Email!